+66 (0)9 3789 -1313
สรรสร้างครอบครัวด้วยเทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว

1.jpg

เด็กหลอดแก้วทำอย่างไร

สำนักข่าวไทยแลนด์ IVF (บรรณาธิการ: ดร. เทอร์รี่w2) การทำเด็กหลอดแก้ว คือ การนำเซลล์ไข่ออกมาปฏิสนธิกับเชื้ออสุจินอกร่างกาย จนเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน แล้วจึงทำการย้ายฝากตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์

ก่อนทำการรักษา แพทย์จะตรวจประเมินความสามารถในการเจริญพันธุ์ของคู่สมรสก่อน ดังนี้

  • ตรวจคุณภาพของอสุจิ

  • ตรวจเลือดดูความพร้อมของระดับฮอร์โมน

  • ตรวจภายใน และ ตรวจอุลตร้าซาวน์ภายใน

  • ตรวจส่องกล้องทางนรีเวช (เฉพาะรายที่จำเป็น)

ข้อบ่งชี้ในการทำเด็กหลอดแก้ว

  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  • เยื่อพังผืดในอุ้งเชิงกราน

  • ท่อรังไข่อุดตันทั้งสองข้าง

  • มีตัวอสุจิน้อย อ่อนแอ หรืออสุจิได้จากการเจาะดูด

ขั้นตอนการทำมีดังนี้

  • พบแพทย์เมื่อมีระดู เพื่อเจาะเลือดดูความพร้อมของระดับฮอร์โมน

  • ฉีดยากระตุ้นรังไข่ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้มีไข่สุกหลายใบ

  • ตรวจอุลตร้าซาวน์ ติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่

  • เมื่อฟองไข่สุกเต็มที่แล้ว จะให้ยากระตุ้นให้ไข่ตก และนัดหมายฝ่ายหญิงมาทำการเก็บไข่ ฝ่ายชายเก็บอสุจิใน 2 วันถัดไป

  • นำอสุจิที่ผ่านการเตรียมแล้วมาปฏิสนธิกับไข่ที่เก็บได้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เป็นตัวอ่อน

  • ปกติจะเพาะเลี้ยงตัวอ่อนนาน 3 วัน สำหรับบลาสโตซิสต์จะเลี้ยง 5 วัน

  • ทำการย้ายฝากตัวอ่อนในวันที่ 3 หรือ 5 แล้วแต่คุณภาพของตัวอ่อน

  • ให้ยาฮอร์โมนเพื่อป้องกันผนังมดลูกลอกตัวก่อนกำหนดและเป็นการพยุงการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้น

  • เจาะเลือดตรวจการตั้งครรภ์ ภายหลังย้ายฝากตัวอ่อน 12-14 วัน

อิ๊กซี่ คืออะไร?

การทำ อิ๊กซี่ เป็นเพียงวิธีที่ช่วยการปฏิสนธิระหว่างอสุจิและไข่ในการทำเด็กหลอดแก้ว โดยใช้เข็มแก้วขนาดเล็กมากดูดอสุจิหนึ่งตัว แล้วฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิสนธิจากนั้นเลี้ยงตัวอ่อนต่อจนกระทั่งย้ายฝากตัวอ่อนในระยะ 8 เซลล์ หรือระยะบลาสโตซิสต์ ก็ได้ ใช้รักษาภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากฝ่ายชายหรือใช้ในคู่สมรสที่ประสบความล้มเหลวจากการปฏิสนธินอกร่างกายมาแล้ว

บลาสโตซิสต์ คืออะไร ?

ปกติจะทำการย้ายฝากตัวอ่อนประมาณวันที่ 2-3 ภายหลังวันเก็บไข่ ซึ่งตรงกับตัวอ่อนระยะ 4-8 เซลล์ หากเรากำลังทำการเลี้ยงตัวอ่อนต่อจนถึงวันที่ 5 ภายหลังวันเก็บไข่ เราจะได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ ซึ่งมีศักยภาพในการฝังตัวดีกว่า และมีระยะการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมในโพรงมดลูก จึงทำให้มีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูงกว่าการย้ายฝากตัวอ่อนในวันที่ 2-3 ภายหลังวันเก็บไข่ แต่การเพาะเลี้ยงทำได้ยากกว่า จะมีตัวอ่อนที่สามารถเจริญต่อไปถึงระยะบลาสโตซิสต์แค่ 40-60 % เท่านั้น


ใส่ความเห็น
Your email address will not be published. Required fields are marked *