การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) คืออะไร?
การทำเด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร
ขั้นตอนของการทำอิ๊กซี่ (ICSI)?
ICSI กับ IVF ต่างกันอย่างไร?
การทำ ICSI ใช้เวลานานเท่าไร?
การทำอิ๊กซี่ (ICSI) เหมาะกับใคร?
อัตราความสำเร็จจากการทำเด็กหลอกแก้วหรือ อิ๊กซี่ (ICSI)
การเลือกสถานที่ในการทำอิ๊กซี่ (ICSI)
ทำไมต้องโรงพยาบาลเจตนิน
แพ็กเกจรักษาภาวะมีบุตรยาก
การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) คืออะไร?
การทำเด็กหลอดแก้ว IVF (IVF – In Vitro Fertilization) นั้นเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ในผู้ที่มีบุตรยากที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ โดยจะนำไข่ของฝ่ายหญิงและอสุจิของฝ่ายชายมาปฏิสนธิภายนอกร่างกายภายในห้องปฏิบัติการ โดยการใช้ตัวอสุจิหลายตัวที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วปล่อยลงไปจานเพาะเลี้ยง โดยปล่อยให้ตัวอสุจินั้นล้อมรอบเซลล์ไข่และปล่อยให้ตัวอสุจิทำการเจาะเข้าไปในเปลือกไข่เองตามธรรมชาติแล้วนำกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงต่อไป ซึ่งในทางการแพทย์ของการรักษามีบุตรยาก IVF นั้นถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ช่วยรักษาและช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่มีบุตรยากนั้นสามารถมีบุตรได้
การทำเด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร
การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ อิ๊กซี่ (ICSI) เป็นเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์เพื่อรักษาผู้มีบุตรยากที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ โดยจะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงตัวเดียว และใช้เข็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็ก ๆ ฉีดตัวเชื้ออสุจิเข้าไปในเซลล์ของไข่โดยตรง เพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นจะทำการเลี้ยงตัวอ่อนต่อในห้องปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อเลี้ยงตัวอ่อนไปจนถึงวันที่ 5 (Blastocyst) จึงทำการย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตต่อไป อิ๊กซี่ (ICSI) นั้นสามารถเพิ่มอัตราการปฏิสนธิและช่วยลดปัญหาการปฏิสนธิที่ผิดปกติ เช่น การปฏิสนธิจากอสุจิหลายตัวและอสุจิไม่สามารถเจาะเปลือกไข่ได้เอง เป็นต้น
ขั้นตอนการทำเด็กหลอกแก้วหรือ อิ๊กซี่ (ICSI)
การตรวจประเมินร่างกาย
ก่อนเริ่มการกระตุ้นไข่แพทย์จะทำการตรวจร่างกายคู่สมรส โดยเฉพาะฝ่ายหญิงอย่างละเอียดเพื่อประเมินความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทำอิ๊กซี่ โดยทำการเจาะเลือดเพื่อวัดปริมาณฮอร์โมนในร่างกายเพื่อประเมินการทำงานของรังไข่ การตรวจ อัลตราซาวด์ เพื่อดูจำนวนไข่เพื่อที่จะประเมินปริมาณของฮอร์โมนในการฉีดกระตุ้นรังไข่ในขั้นตอนต่อไป
การฉีดยากระตุ้นไข่
หลังจากตรวจประเมินร่างกายแล้ว ในขั้นตอนต่อไปจะเข้าสู่กระบวนการฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นไข่ โดยแพทย์จะเริ่มฉีดยากระตุ้นไข่ในวันที่ 2 ของรอบเดือน โดยฉีดยาประมาณ 9-14 วัน ในระหว่างนั้นแพทย์จะมีการนัดทำอัลตราซาวด์เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของไข่เป็นระยะ และเมื่อไข่ได้ขนาดที่เหมาะสมแล้ว แพทย์และทำการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่สุกและเตรียมความพร้อมสำหรับการเก็บไข่ภายใน 34-36 ชั่วโมง
การเก็บไข่
เมื่อฉีดยาให้ไข่ตกภายใน 34-36 ชั่วโมงแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการเก็บไข่โดยแพทย์ทำเริ่มทำการเก็บไข่ผ่านออกมาทางช่องคลอด และฝ่ายชายก็จะมีการเก็บอสุจิออกมาในวันเดียวกัน จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจวิเคาระห์คุณภาพอสุจิจะทำการคัดแยกเฉพาะอสุจิที่สมบูรณ์ แข็งแรง มาเพื่อฉีดเข้าสู่ไข่ที่เก็บมาของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิต่อไป ถ้าหากฝ่ายชายมีปัญหาด้านสมรรถภาพทางเพศเช่น ภาวะท่อนำอสุจิอุดตัน แพทย์จะใช้วิธีการเก็บตัวอสุจิโดยตรงจากอัณฑะด้วยวิธี PESA/TESE
ขั้นตอนการทำ ICSI และการเลี้ยงตัวอ่อน
เมื่อเข้าสู่กระบวนการ ICSI นักวิทยาศาสตร์เลี้ยงตัวอ่อนจะคัดเลือกไข่ใบที่สมบูรณ์ และอสุจิที่สมบูรณ์เพียงตัวเดียวโดยจะใช้เข็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ของไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิต่อไป จากนั้นนักวิทยาศาสตร์จะทำการจะทำการเลี้ยงตัวอ่อนไปจนถึงวันที่ 5 ที่เรียกว่า ระยะบลาสโตซิสต์ โดยในการเลี้ยงตัวอ่อนจะใช้น้ำยาหล่อเลี้ยงที่เต็มไปด้วยสารอาหารสำคัญ รวมถึงการการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้คงที่ เพื่อให้ตัวอ่อนนั้นเติบโตได้ดี จากนั้นแพทย์ก็จะทำการนัดคนไข้มาย้ายตัวอ่อนที่สมบูรณ์กลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อให้เจริญเติบโตในครรภ์ของฝ่ายหญิงต่อไป
การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก (Embryo transfer)
โดยการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือการย้ายตัวอ่อนรอบสด และการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
1.การย้ายตัวอ่อนรอบสด เป็นการย้ายตัวอ่อนในรอบที่มีการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ทันที โดยแพทย์จะทำหลังจากการนำไข่และอสุจิปฎิสนธินอกร่างกายและเลี้ยงตัวอ่อนจนอยู่ในระยะ 5 – 6 วัน หรือระยะ Blastocyst แล้ว ถ้าหากตัวอ่อนเติบโตดี แข็งแรง แพทย์ก็จะนัดคนไข้มาย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป
2.การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง คือ การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกในรอบเดือนที่แพทย์ประเมินแล้วว่าผนังโพรงมดลูกนั้นมีความพร้อม โดยแพทย์จะทำการเก็บตัวอ่อนแช่แข็งเก็บไว้ และจะนำมาละลายในวันที่พร้อมสำหรับขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกและจากนั้นแพทย์จะนัดเข้ามาเพื่อตรวจติดตามการผลการตั้งครรภ์ต่อไป และอีกขั้นตอนสำคัญสำหรับการย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็ง คือกระบวนการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งกระบวนการเตรียมมดลูกมี 2 วิธี
ใช้รอบธรรมชาติ แพทย์จะทำการประมาณวันที่ไข่จะตกธรรมชาติและนัดคนไข้มาทำการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูขนาดไข่ และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน หลังจากนั้น แพทย์จะทำการนัดย้ายตัวอ่อนหลังจากที่มีการตกของไข่ไปแล้ว 5-6 วัน ซึ่งในรอบธรรมชาตินี้ ฟองไข่ที่เจริญเติบโตขึ้นมาจะผลิตฮอร์โมนได้เอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฮอร์โมนเป็นจำนวนมาก
ใช้ยาเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูก โดยใช้ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อช่วยสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้น ประมาณ 12-14 วันเมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาที่เหมาะสมแล้ว จะเริ่มให้ยาตัวที่ 2 ที่เป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นเวลา 6 วัน ซึ่งทำให้เราสามารถกำหนดวันย้ายตัวอ่อนได้ตามความสะดวกของเรา ในรอบที่ใช้ยาเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกนี้ คนไข้จะไม่มีการเจริญเติบโตของฟองไข่ ฮอร์โมนที่ช่วยในการตั้งครรภ์ทั้งหมดมาจากการใช้ยา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาต่อเนื่องจนถึงตั้งครรภ์แล้วประมาณ 10 สัปดาห์
ICSI กับ IVF ต่างกันอย่างไร?
การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) / อิ๊กซี่ (ICSI) เป็นวิธีการปฏิสนธินอกร่างกาย โดยเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ
ความแตกต่างระหว่างการทำ IVF และ ICSI นั้น อยู่ที่ขั้นตอนการปฏิสนธิ โดยการทำ IVF ไข่และอสุจิหลายตัวจะถูกนำไปผสมในจานเพาะเลี้ยง ซึ่งอสุจิจะว่ายมาปฏิสนธิกับเซลล์ไข่เองตามธรรมชาติ ในขณะที่การทำ ICSI นั้น เป็นการใช้เข็มฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง ซึ่งวิธีการ ICSI นั้นอาจมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า และเหมาะกับฝ่ายชายที่มีสเปิร์มไม่แข็งแรงหรืออสุจิไม่สามารถเจาะเปลือกไข่เข้าไปเองได้เหมือนในวิธีการของ IVF เพราะฉะนั้นการทำ ICSI จึงมีอัตราความสำเร็จที่สูงกว่านั่นเอง
การทำ ICSI ใช้เวลานานเท่าไร?
โดยปกติ การทำอิ๊กซี่ (ICSI) หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่การตรวจประเมินร่างกายเพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยาก และจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นไข่โดยจะใช้เวลา 9-10 วัน เริ่มจากวันที่ 2 หรือ 3 ของการเป็นประจำเดือน จากนั้น หลังจากฉีดยาให้ไข่ตกภายใน 34-36 ชั่วโมง ก็จะเข้าสู่กระบวนการเก็บไข่ของคุณผู้หญิงและสเปิร์มของคุณผู้ชายภายในวันเดียวกันจากนั้นก็สามารถกลับบ้านได้
หลังจากแพทย์ทำการเก็บไข่และอสุจิเรียบร้อยจะเข้าสู่กระบวนการต่อไปนั่นคือการทำ ICSI และนักวิทย์ในห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนจะทำการผสมไข่กับอสุจิหลังจากผสมแล้วนักวิทย์จะทำการเลี้ยงตัวอ่อนไปอีก 5 วัน และจะเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายนั่นคือการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนได้เจริญเติบโตต่อไป
การทำอิ๊กซี่ (ICSI) เหมาะกับใคร?
ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบหรือตันทั้งสองข้าง
ฝ่ายหญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ
ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือมีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก
ฝ่ายหญิงมีเปลือกไข่หนา อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเข้าปฏิสนธิได้
ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
ฝ่ายชายมีปัญหาในเรื่องเป็นหมัน หรือ มีปัญหาด้านปริมาณอสุจิน้อย ตัวอสุจิไม่แข็งแรงหรือไม่สมบูรณ์ สามารถทำการเจาะดูดออกมาจากท่อส่งอสุจิ หรือจากการนำเนื้อเยื่อของอัณฑะมาใช้
สำหรับคู่สมรสที่อายุยังไม่พร้อมที่จะมีลูกในทันที สามารถฝากตัวอ่อนไว้ก่อนได้ เมื่อไหร่พร้อมสามารถนำตัวอ่อนออกมาละลายและใส่กลับเข้าโพรงมดลูกได้
อัตราความสำเร็จจากการทำเด็กหลอกแก้วหรือ อิ๊กซี่ (ICSI)
ปัจจุบันการทำICSI มีอัตราความสำเร็จสูงถึงร้อยละ 60%-70% เมื่อตัวอ่อนได้รับการตรวจโครโมโซม ซึ่งการทำอิ๊กซี่ นั้นถูกยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลกเพราะถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากนั้นประสบความสำเร็จและมีลูกได้มากที่สุด เพราะเป็นการคัดเลือกตัวอสุจิที่มีความสมบูรณ์และแข็งแรงที่สุดเพื่อฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรงสามารถช่วยให้เกิดการปฏิสนธิ หรือช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงที่มีเปลือกไข่หนาจนทำให้สเปิร์มไม่สามารถเจาะเปลือกไข่เข้าไปได้ ICSI จึงกลายเป็นวิธีการรักษาที่ทั่วโลกยอมรับและใช้เพราะเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นได้
การเลือกสถานที่ในการทำอิ๊กซี่ (ICSI)
1. ควรพิจารณาถึงมาตรฐานและความปลอดภัย คลินิกทำ IVF หรือ โรงพยาบาลจะต้องมีใบอนุญาตในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ตามประกาศของแพทย์สภา
2. พิจารณาจากแพทย์ผู้รักษามีบุตรยาก ก่อนเข้าไปปรึกษาควรหาข้อมูลถึงแพทย์ที่จะไปรักษาว่าเป็นสูตินรีแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์หรือไม่ มีประสบการณ์ในการรักษาผู้มีบุตรยากยาวนานกี่ปี มีความเชี่ยวชาญ ด้านไหนเป็นพิเศษบ้าง และที่สำคัญแพทย์มีเวลาในการพูดคุยกับคู่สมรส เกี่ยวกับการรักษามากน้อยเพียงใด
3. พิจารณาจากห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ต่าง ๆ ควรตรวจสอบพิจารณาให้แน่ใจว่าคลินิกหรือโรงพยาบาลนั้นมีห้องปฏิบัติการเป็นของตัวเองหรือไม่ หรือส่งไปทำที่อื่น สถานที่ส่งไปทำ มีมาตรฐานมากน้อยเพียงใด รวมถึงมาตรฐานในการรับรองต่าง ๆ ของห้องปฏิบัติการควรผ่านมาตรฐานหรือการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงห้องปฏิบัติการมีบริการแช่แข็งอสุจิ แช่แข็งไข่ แช่แข็งตัวอ่อน หรือไม่ ถ้าไม่มีสถานที่ฝากแช่แข็งมีมาตรฐาน และการรักษาความปลอดภัยดีมากน้อยเพียงใด
Monday | 8:00 — 18:00 |
Tuesday | 8:00 — 18:00 |
Wednesday | 8:00 — 18:00 |
Thursday | 8:00 — 18:00 |
Friday | 8:00 — 18:00 |
Saturday | 8:00 — 18:00 |
Sunday | 8:00 — 18:00 |