+66 (0)9 3789 -1313
การดื่มกาแฟ ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไร

ปัจจุบันการดื่มกาแฟ เป็นที่นิยมอย่างมากและมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะในวัยทำงาน มักจะชอบดื่มกาแฟในช่วงเช้า เนื่องจากในกาแฟนั้นมีส่วนผสมของ “คาเฟอีน Caffeine”  ซึ่งจัดเป็นสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มแซนธีนส์ (Xanthines) ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงนอน โดยคาเฟอีนในกาแฟนั้นจะมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 3-6 ชั่วโมงแล้วแต่ความเข้มข้นของชนิดกาแฟ ทำให้นิยมทานในหมู่นักศึกษาและกลุ่มวัยทำงานโดยเฉพาะหนุ่มสาวออฟฟิต เพราะความรู้สึกสดชื่นนั้นทำให้สามารถเรียนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งนอกจากกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นแล้ว สำหรับคุณผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตร คำถามที่มักสงสัยมากที่สุด คือ การดื่มกาแฟส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์จริงหรือ? การศึกษาในปี 1993 เกี่ยวกับอัตราการตั้งครรภ์ของผู้หญิงและปริมาณคาเฟอีน เผยแพร่โดย คุณ Grodstein แสดงให้เห็นว่า การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณสูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อ ภาวะมีบุตรยาก ของผู้หญิงได้อย่างมีนัยสำคัญ การแสดงของผลลัพธ์นี้ ได้สร้างความหวาดกลัวให้กับคุณแม่ที่ กำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์จำนวนมากที่ชื่นชอบกาแฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปและอเมริกาเป็นสังคมที่ชอบดื่มกาแฟเป็นอย่างมาก ดังนั้นสำหรับผู้หญิงที่ติดกาแฟ แต่อยากวางแผนจะมีบุตร คำถามที่มักสงสัยมากที่สุด คือ เราไม่ควรที่จะดื่มกาแฟเลยหรือ?

คำตอบ คือ ไม่จริง คุณสามารถดื่มได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม  แล้วต้องเท่าไหร่หละ?

โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าการบริโภคคาเฟอีนในแต่ละวันของหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเกิน 200 -300 มก. นั่นคือการดื่มเพียงวันละ 1-2 แก้วจะไม่ส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ และตั้งแต่ปี 2008 The Food Safety Authority (FSA) แนะนำให้คนที่วางแผนตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่  ได้รับสารคาเฟอีน (Caffeine)ได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นในทางที่ดี เราไม่ควรได้รับ คาเฟอีน เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ

สำหรับผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์หรือวางแผนมีบุตรควรจะลดปริมาณการดื่มกาแฟ เพราะคาเฟอีนในกาแฟนั้น อาจส่งผลทำให้เกิด “ภาวะมีบุตรยาก” โดยอ้างอิงจากผลวิจัยของโรงพยาบาลกลางมลรัฐแมสซาชูเซตส์ ในสหรัฐอเมริกา ที่ได้เก็บข้อมูลได้ระหว่างช่วงปี 2550-2556  ทำให้พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า ผู้ชายที่ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ (หรือประมาณ 265 มิลลิกรัมต่อวัน) มีเสี่ยงภาวะเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก เนื่องจากคาเฟอีนทำให้หลั่งอสุจิได้น้อยลง และในผู้หญิงที่ดื่มกาแฟทุกวัน ทำให้ลดโอกาสการตั้งครรภ์ถึง 25 % และหากดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้วต่อวัน ยังเสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตรมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟอีกด้วย

ซึ่ง Caffeine ไม่ได้พบแค่ในกาแฟเท่านั้น แต่ยังมีผสมอยู่ใน ชา ชาเชียว โคล่า เครื่องดื่มชูกำลัง และ Chocolate อีกด้วย

หากเราได้ไม่รับคาเฟอีนเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดปัญหาเกี่ยวเนื่องกับการมีบุตรยากหรือปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ต้องไม่ลืมว่า คาแฟอีน นั้น ไม่ได้มีแค่ในกาแฟนะคะ เราต้องนับรวมปริมาณคาแฟอีนในทุกอย่างที่เรากิน ให้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ

ปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับจากเครื่องดื่มแต่ละชนิด

เครื่องดื่มชนิดต่างกันย่อมมีปริมาณคาเฟอีนแตกต่างกันไปด้วย คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรคำนวณปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่ตัวเองชื่นชอบหรือดื่มเป็นประจำ เพื่อป้องกันการได้รับคาเฟอีนมากเกินไปในแต่ละวัน ดังนี้

กาแฟ
  • กาแฟชง 237 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 95-165 มิลลิกรัม

  • กาแฟชงที่ผ่านการลดปริมาณคาเฟอีน 237 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 2-5 มิลลิกรัม

  • กาแฟสำเร็จรูป 237 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 63 มิลลิกรัม

  • กาแฟสำเร็จรูปที่ผ่านการลดปริมาณคาเฟอีน 237 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 2 มิลลิกรัม

  • กาแฟลาเต้หรือมอคค่า 237 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 63-126 มิลลิกรัม

  • กาแฟเอสเพรสโซ่ 30 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 47-64 มิลลิกรัม

ชา
  • ชาชง 237 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 48 มิลลิกรัม

  • ชาสำเร็จรูป 237 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 26-36 มิลลิกรัม

  • ขาเขียว 177 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 40 มิลลิกรัม

  • ชาดำ 177 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 45 มิลลิกรัม

ช็อกโกแลตและโกโก้
  • โกโก้ร้อน 355 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 8-12 มิลลิกรัม

  • นมช็อกโกแลต 237 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 5-8 มิลลิกรัม

  • ช็อกโกแลตธรรมดา 50 กรัม มีคาเฟอีนประมาณ 25 มิลลิกรัม

  • ดาร์กช็อกโกแลต 41 กรัม มีคาเฟอีนประมาณ 30 มิลลิกรัม

  • ช็อกโกแลตนม 44 กรัม มีคาเฟอีนประมาณ 11 มิลลิกรัม

  • ช็อกโกแลตแบบหวานน้อย 1 ใน 4 ของถ้วย มีคาเฟอีนประมาณ 26-28 มิลลิกรัม

  • ช็อกโกแลตไซรัป 1 ช้อนโต๊ะ มีคาเฟอีนประมาณ 3 มิลลิกรัม

เครื่องดื่มอื่น ๆ
  • ไอศกรีมหรือโยเกิร์ตรสกาแฟครึ่งถ้วย มีคาเฟอีนประมาณ 2 มิลลิกรัม

  • น้ำอัดลม 355 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 37 มิลลิกรัม

  • เครื่องดื่มชูกำลัง 250 มิลลิลิตร มีคาเฟอีนประมาณ 80 มิลลิกรัม

ผลเสียจากกาแฟที่คุณอาจไม่เคยรู้

1. น้ำหนักตัวของทารกต่ำกว่าเกณฑ์
จากการศึกษาของ คุณ Rachel Bakker และคนอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 2010 พบว่าการบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยง ทำให้เด็กอาจมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์

2. เด็กอาจพิการแต่กำเนิด 
มีงานวิจัยที่ทดลองกับสัตว์หลายงานวิจัย พบว่า การได้รับคาเฟอีนในระหว่างตั้งครรภ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความพิการแต่กำเนิด การคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ และอาจทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในคนนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด แต่เพื่อความปลอดภัยคุณแม่ก็ควรจำกัดปริมาณการบริโภคคาเฟอีนในระหว่างตั้งครรภ์ไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

3. อาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตร
การศึกษาใน American Journal of Reproductive Medicine ระบุว่า “คาเฟอีนจะเพิ่มความต้านทานของหลอดเลือดแดงที่สะดือ!” ซึ่งหมายความว่าการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงจะลดลง ทำให้การส่งสารอาหารและออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์อาจได้รับผลกระทบ ทำให้การแท้งบุตรง่ายขึ้น และในปี 2015 การศึกษาของ Li J et al. ใน International Journal of Obstetrics and Gynecology ยังยืนยันว่าการบริโภคคาเฟอีนที่เพิ่มขึ้น 150 มก. ต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งได้ 19% เพื่อความปลอดภัยคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรบริโภคคาแฟอีนมากเกินไป

4.ทำลายมวลกระดูก
สารคาเฟอีนในกาแฟ ทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการณ์สูญเสียแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกเปราะ หักง่าย มวลกระดูกมีความแข็งแรงต่ำลง ยิ่งในถาวะตั้งครรภ์ด้วยแล้ว คุณแม่ยิ่งต้องใช้แคลเซียมที่มากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากขึ้น

5.รบกวนประสิทธิภาพการนอน
เนื่องจากคาเฟอีนนั้นมีผลทำให้สมองตื่นตัว กระตุ้นกล้ามเนื้อให้พร้อมทำงานตลอดเวลา จึงมีผลต่อคุณภาพการนอนที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ ร่างกายนอนหลับแต่สมองทำงานตลอดเวลา ทำให้ไม่เกิดการพักผ่อนที่เพียงพอ ทำให้รู้สึกง่วงนอน ไม่สดชื่น


ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างผลกระทบที่เกิดจากการดื่มคาแฟอีนมากเกินไปเท่านั้นค่ะ หากเราควบคุมปริมาณที่พอเหมาะ ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ  ยังสามารถดื่มกาแฟตามที่เราชอบได้เลย

สนใจติดต่อ  :  Deep & Harmonicare IVF Center ศูนย์ปรึกษาการตั้งครรภ์ และ รักษาภาวะมีบุตรยาก

สอบถามการรักษามีลูกยาก  :  LINE : @dhcivf.th

ติดตามข่าวความรู้เรื่องรักษามีบุตรยาก ได้ที่  :  fb.me/DeepHarmoniCareIVF

ติดต่อเรา : 093-7891313


ใส่ความเห็น
Your email address will not be published. Required fields are marked *