+66 (0)9 3789 -1313
โรคทางพันธุกรรม กับการตรวจโครโมโซม การตรวจคัดกรองตัวอ่อน

โรคทางพันธุกรรม กับ การตรวจโครโมโซม การตรวจคัดกรองตัวอ่อน

การตรวจโครโมโซมคัดกรองตัวอ่อน ถือเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยในการตรวจวิเคราะห์ ช่วยคัดกรองความผิดปกติของตัวอ่อนก่อนฝังตัวได้เพื่อให้ได้ผลที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น และยังสามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้นอีกด้วย

โครโมโซม คืออะไร?

โครโมโซม  คือรหัสทางพันธุกรรมซึ่งอยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ (เซลล์เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของเนื้อเยื่อคนเรา) อยู่กันเป็นคู่คล้ายปาท่องโก๋ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ และเซลล์จะมาควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆอีกต่อหนึ่ง ลักษณะทางพันธุกรรมคนเราแต่ละคนน้ันถูกกำหนดโดยยีนของแต่ละคน ซึ่งยีนคือส่วนของรหัสพันธุกรรมเล็กๆบนโครโมโซมแต่ละคู่ ยีนแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ควบคุมการสร้าง การทำงานของเซลล์ และเป็นตัวกำหนดความเป็นมนุษย์ในแต่ละคนให้แตกต่างกัน ซึ่งโครโมโซม อยู่ภายในร่างกายมนุษย์คนเรา มีจำนวนท้ังหมด 23 คู่ แบ่งเป็นโครโมโซมร่างกายทั้งหมด 22 คู่ และโครโมโซมเพศอีก 1 คู่ คือหากเป็นโคโมโซม XX หมายถึงเพศหญิง และโคโมโซม XY หมายถึงเพศชาย

 

 

เซลล์ไข่และอสุจิในแต่ละตัวน้ัน จะมีส่วนของโครโมโซมเพียงแค่ขาเดียว เมื่อไข่ของแม่และอสุจิของพ่อมารวมกันเป็นพันธุกรรมตัวอ่อน จึงทำให้โครโมโซมจากแม่และพ่อมารวมกันเป็นคู่ปาท่องโก๋ในตัวเด็ก สุดท้ายพันธุกรรมน้ันจะถูกพัฒนาให้เป็นพันธุกรรมเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งลักษณะทางพันธุกรรมนี้จะถูกกำหนดโดยยีนของแต่ละคนที่จะควบคุมการสร้าง การทำงานของเซลล์ และเป็นสิ่งที่กำหนดความเป็นมนุษย์ให้โดดเด่นแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล  ไม่ว่าจะเป็น สีผิว สีตา สีผม ส่วนสูง กรุ๊ปเลือด ความสามารถทางสติปัญญาและการพัฒนาการทางร่างกาย จึงทำให้คนเราแต่ละคนน้ันมีความแตกต่างกัน แม้พี่น้องที่มีเซลล์จากพ่อและแม่เหมือนกัน แต่ละคนยังต้องพัฒนาพันธุกรรมให้เป็นของตัวเอง จึงทำให้พี่น้องที่คลานตามกันมาไม่เหมือนกัน
หากการแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์มีความปกติ  เด็กที่เกิดมาก็จะมีรูปร่างหน้าตาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ มีความสามารถทางด้านสติปัญญาและพัฒนาการทางร่างกายเท่ากับเด็กทั่วไป แต่ในการขั้นตอนการแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์นั้น ในบางครั้งก็อาจจะมีการแบ่งตัวที่ผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ความผิดปกติของโครโมโซมนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย หนึ่งในสาเหตุหลักเกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนการแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์ ยิ่งสตรีมีอายุมากเท่าไร โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดก็ยิ่งสูงขึ้น ทำให้เสี่ยงที่จะทำให้เด็กที่เกิดมาอาจจะมีความไม่สมบูรณ์ มีความสามารถทางสติปัญญาด้อยกว่าและมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน จะช่วยในการตัดสินใจต่อการตั้งครรภ์ของคู่สมรสได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยในการตรวจวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

 

ความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนการฝังตัวส่งผลอย่างไร ?

นอกจากความเสี่ยงในการมีบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาการและการดำรงชีวิตที่เป็นปัญหาอย่างยิ่งในอนาคตแล้ว ความผิดปกติทางพันธุกรรมนี้ยังส่งผลต่อ การฝังตัวของตัวอ่อน ไปยังมดลูกของแม่ด้วย ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลง โดยพบว่าแม่ที่มีการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้นจะยิ่งมีโอกาสพบความผิดปกติของตัวอ่อนในลักษณะการกลายพันธุ์ของโครโมโซมสูง ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ต่ำ หรือบางรายพบปัญหาการแท้งซ้ำซากซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนเอง กลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับข้อมูลความผิดปกติของตัวอ่อนเพื่อเป็นการตัดสินใจร่วมกันกับแพทย์ หรือในกรณีที่ความผิดปกติเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน การได้รับการวินิจฉัยในพ่อแม่ว่ามีโอกาสถ่ายทอดโรคดังกล่าวไปยังรุ่นลูกเป็นการเตรียมพร้อมให้กับครอบครัวในกรณีที่ยอมรับบุตรที่จะเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติทางพันธุกรรม ดังนั้นหากแม่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติดังกล่าว ครอบครัวที่ได้รับการให้คำปรึกษาภาวะมีบุตรยากโดยการใช้เทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว  (IVF)  หรือครอบครัวที่มีประวัติการถ่ายทอดโรคพันธุกรรมชนิดร้ายแรง สมควรอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคพันธุกรรมก่อนการฝังตัวเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น และมีบุตรที่มีความปกติ ปราศจากโรคทางพันธุกรรม

 

ตัวเล่นไฟล์วิดีโอ

00:18

01:01

 

โรคทางพันธุกรรม คือ

โรคทางพันธุกรรม ในความหมายทั่วไปคือโรคที่มีการถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก ซึ่งลักษณะของโรคนี้มีสาเหตุได้จาก 2 ปัจจัย ได้แก่การกลายพันธุ์ของระดับโครโมโซม (chromosomal mutation) หรือ การกลายพันธุ์ของยีน (gene mutation)

การกลายพันธุ์ของระดับโครโมโซม สามารถจำแนกได้สองรูปแบบคือ จำนวนของโครโมโซมผิดปกติ เช่น จำนวนเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงจากปกติของทั้งโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (trisomy 21) ที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เพิ่มมา 1 แท่ง หรือ กลุ่มอาการเทอเนอร์ (monosomic X) ที่มีโครโมโซม X ขาดหายไป 1 แท่ง อีกรูปแบบหนึ่งคือ โครงสร้างของโครโมโซมผิดปกติ ได้แก่ การขาดหายไปของชิ้นส่วนโครโมโซม (deletion) การเพิ่มขึ้นมาของบางชิ้นส่วนในโครโมโซม (duplication) การสลับตำแหน่งของชิ้นส่วนโครโมโซมที่ต่างคู่กัน (translocation) และ การสลับตำแหน่งของชิ้นโครโมโซมแท่งเดียวกัน (inversion) ซึ่งความผิดปกติกลุ่มนี้มีอาการทางคลินิกได้หลากหลาย และมีโรคที่เกี่ยวข้องมากมาย

การกลายพันธุ์ของยีน เป็นลักษณะความผิดปกติที่เกิดจากการกลายพันธุ์บนตำแหน่งของยีนที่จำเพาะ ซึ่งความคุมลักษณะบางอย่างของร่างกาย เช่น โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์บนยีนที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเม็ดเลือดแดง เป็นต้น

 

โรคทางพันธุกรรมที่สำคัญ

ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม โดยมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่งจากปกติที่มี 2 แท่ง นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากการย้ายที่ของโครโมโซมอีกด้วยซึ่งลักษณะของเด็กที่ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีศีรษะเล็ก ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ลิ้นยื่นออกมา ปากเล็ก มือสั้น และอาจมีโรคประจำตัวติดมาตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจพิการ โรคลำไส้อุดตัน ต่อมไทรอยด์บกพร่อง เป็นต้น โรคนี้มักพบได้บ่อยในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

 

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edwards syndrome) เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18เกินมา 1 แท่งส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติทางสติปัญญา ปากแหว่ง เพดานโหว่ นิ้วมือบิดงอ และกำแน่นเข้าหากัน เป็นโรคที่ทำให้เด็กเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย

ตาบอดสี (Color blindness) มักเป็นโรคที่มีมาแต่กำเนิดและพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงอาการของผู้ที่เป็นโรคนี้ คือ จะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีเขียวกับสีแดง หรือสีน้ำเงินกับสีเหลืองได้ โดยจะเกิดขึ้นกับดวงตาทั้งสองข้าง และไม่สามารถรักษาได้

ฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) เป็นโรคเลือดไหลไม่หยุดหรือเลือดออกง่ายเพราะขาดสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากความผิดของโครโมโซม x พบมากในเพศชาย อาการของโรคนี้คือ เลือดออกมาผิดปกติ ข้อบวม มักเกิดแผลฟกช้ำขึ้นเองเป็นต้น

Hemophlia infographic facts. Editable vector illustration in red and pink colors isolated on white background. Medical, healthcare and scientific concept with useful inheritance data. Vertical poster.

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เกิดจากความผิดปกติของยีนทำให้ไม่สามารถควบคุมการผลิตฮีโมโกลบินให้เป็นปกติได้ อาการเริ่มแรกจะคล้ายกับเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง เช่น ผิวซีด ผิวเหลือง เหนื่อยง่าย การเจริญเติบโตช้า ปัสสาวะสีเข้ม เป็นต้น การรักษาจะทำได้โดยการให้เลือด และการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้อื่น

โรคลูคิเมีย (Leukemia) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคที่เกิดจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดขาวออกมามากผิดปกติ และเม็ดเลือดขาวที่ผลิตออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพในการต้านทานเชื้อโรคได้ จึงป่วยเป็นไข้บ่อย โดยอาการที่แสดงออกมา คือ มีไข้สูง เป็นหวัดเรื้อรัง วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวซีด เป็นต้น บางรายอาจมีอาการรุนแรงทำให้ถึงขึ้นเสียชีวิตได้ ส่วนการรักษานั้นสามารถทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ หรืออาจใช้เคมีบำบัดเพื่อให้ไขกระดูกกลับมาทำหน้าที่ตามปกติ

ทำไมต้องตรวจโครโมโซมตัวอ่อน

  1. เพื่อทราบความผิดปกติของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ลดปัญหาทารกในครรภ์ผิดปกติซึ่งอาจจะทำไปสู่ภาวะแท้งได้ในอนาคต

  2. ลดอัตราการทำแท้งหรือการยุติการตั้งครรภ์จากตัวอ่อนมีความผิดปกติ

  3. สามารถตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมได้ 100%

  4. สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงได้

  5. โอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น 60-80 %

  6. ลดการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น

  7. การตรวจ PGT นั้นมีความแม่นยำสูงถึง 99%

  8. ลดระยะเวลารอการตั้งครรภ์

การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน ใช้เทคโนโลยีที่ตรวจวิเคราะห์จากพันธุกรรม เพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน พร้อมทั้งทำการคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ

Biotechnology abstract concept vector illustration. Biological science, biotech company, bioengineering industry, genome engineer, biotechnology equipment, laboratory research abstract metaphor.

การตรวจคัดเลือกพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน (PGT) เป็นตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนได้ก่อนที่จะใส่กลับเข้าโพรงมดลูก 

วิธีการนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ความผิดปกติของสารพันธุกรรม เช่น ตรวจหาจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติได้โดยวิธีการที่เรียกว่า PGT-A ใช้ตรวจหาความผิดปกติในระดับยีนโดยวิธี PGT-M และตรวจหาการจัดเรียงตัวใหม่ของโครงสร้างโครโมโซมที่ผิดปกติโดยวิธี PGT-SR เทคโนโลยีการตรวจคัดเลือกพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้บุตรที่ปกติสมบูรณ์และลดอัตราการแท้งอันเนื่องมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกได้

PGT-A

ก่อนนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว (PGS) เป็นวิธีการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมที่เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝ่ายหญิงที่มีอายุมากซึ่งพบว่าตัวอ่อนมากกว่า 50% จะมีจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติและมักจะพบเซลล์ไข่ที่มีจำนวนโครโมโซมขาดหรือเกินไปกว่าปกติ เรียกว่าแอนยูพลอยดี้ (Aneuploidy) เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s Syndrome) ในทารกได้ การตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนจึงสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ให้สำเร็จเป็นอย่างดี

PGT-M

ก่อนนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า การตรวจวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGD) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว (monogenic mutation) ไปสู่ลูกได้ การวิเคราะห์และตรวจหาความผิดปกติของยีนเดี่ยวที่เกิดการกลายพันธุ์โดยวิธี PGT-M เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) จะช่วยลดความเสี่ยงในการให้กำเนิดบุตรที่มีความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมได้

PGT-SR (ตรวจการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซม)

การสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซม (structural rearrangement) เป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นจากการสลับชิ้นส่วนของโครโมโซมโดยไม่มีการเพิ่มหรือลดสารพันธุกรรม ซึ่งเรียกว่ามีสถานะแบบสมดุล การที่บุคคลมีโครโมโซมสองโครโมโซมมีการสลับชิ้นส่วนกัน (reciprocal translocation) ส่งผลให้มีโอกาสสูงในการผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่มีสารพันธุกรรมไม่ครบ หรือมีบางส่วนเกินมา ส่งผลให้ตัวอ่อนมีชุดโครโมโซมไม่สมดุล PGT-SR ช่วยลดอัตราการแท้งจากการมีโครโมโซมที่ไม่สมดุลและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ของตัวอ่อน

 

PGT

 

ขั้นตอนในการทำ

PGT-A

ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วนั้น เมื่อตัวอ่อนถูกเลี้ยงไปจนถึงระยะที่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะฝังตัว หรือระยะ Blastocyst (วันที่ 5 ของการเลี้ยงตัวอ่อน) โดยเซลล์ของตัวอ่อนจะถูกสร้างขึ้นมากกว่า 100เซลล์ ประกอบไปด้วย เซลล์ชั้นใน (inner cell mass) ที่สร้างขึ้นจะเจริญไปเป็นทารก เซลล์รอบนอก (Trophectoderm) จะเจริญไปเป็นรก เซลล์ที่รกเพียงเล็กน้อยจะถูกนำมาตรวจชิ้นเนื้อเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์สารพันธุกรรม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของตัวอ่อนและไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นทารกแต่อย่างใด เซลล์ถูกเก็บตัวอย่างมานั้นจะถูกนำไปทำการสกัดและเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม (DNA) เพื่อนำไปวิเคราะห์ Next Generation Sequencing (NGS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมดในเซลล์ (Genome) กระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้สามารถใช้ตรวจโครโมโซมทั้ง 24 ชนิด ได้แก่ โครโมโซมที่ไม่ใช่ตัวกำหนดเพศ 22 ชนิด (autosome) และโครโมโซมเพศ 2 ชนิด (X และ Y) ที่ความแม่นยำสูง (99.9%) นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบ chromosome deletions/duplications (การมีชิ้นส่วนของแท่งโครโมโซมเกินมาหรือขาดหายไป) ด้วยความละเอียดสูงได้อย่างชัดเจน โดยตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติจะถูกตรวจคัดเลือกก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป

PGT-M

1.ตรวจเช็คประวัติ
ตรวจสอบบันทึกผลทดสอบทางพันธุกรรมของผู้เข้ารับการรักษา และอาจขอทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่้อประเมินว่าเราสามารถที่จะตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมดังกล่าวในตัวอ่อนได้หรือไม่

2. ร่วมปรึกษากับทีมงานของเราที่ปรึกษาด้านพันธุกรรมของเราจะให้คำแนะนำถึงประโยชน์พร้อมทั้งข้อจำกัดของการทดสอบและวิเคราะห์โดยวิธี PGT-M โดยขึ้นอยู่กับภาวะของผู้เข้ารับการรักษาแต่ละท่านซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้การทดสอบจำเป็นต้องใช้ตัวอย่างน้ำลายของพ่อแม่หรือบางกรณีอาจต้องใช้ของพี่น้องหรือญาติร่วมด้วย

3. การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเตรียมการแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราจะแจ้งให้ผู้เข้ารับการรักษาทราบเพื่อเริ่มขบวนการักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วเพื่อสร้างตัวอ่อนที่มีคุณภาพ

4. เพาะเลี้ยงตัวอ่อนและการทำ Embryo biopsy เพื่อตรวจโรคทางพันธุกรรมตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงภายใต้สภาวะควบคุมจนกว่าจะถึงระยะบลาสโตซิสต์ในวันที่ 5 หรือวันที่ 6 ของเพาะเลี้ยง ซึ่งเซลล์จำนวนเพียงเล็กน้อยจาก Trophectoderm ที่จะเจริญไปเป็นรกจะถูกนำมาตรวจชิ้นเนื้อเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์สารพันธุกรรมต่อไป

5. การทดสอบทางพันธุกรรม สารพันธุกรรมของตัวอ่อนจะถูกวิเคราะห์เพื่อตรวจหาการกลายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจงโดยการวิเคราะห์หาความแตกต่างนี้เกิดจากการเปลี่ยนชนิดนิวคลีโอไทด์เพียงตำแหน่งเดียว (SNPs) สำหรับการวิเคราะห์จำนวนโครโมโซมของตัวอ่อนจะถูกตรวจสอบโดยเทคโนโลยี NGS 

6. การย้ายตัวอ่อนตัวอ่อนที่มีผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมที่ไม่เป็นโรค และมีโครโมโซมจำนวนปกติจะถูกตรวจคัดเลือกก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป

ข้อดีของ PGT-A

• ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์
• เนื่องจากการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว (PGT-A) ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ จึงเป็นวิธีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) โดยลดจำนวนรอบการรักษาจนการตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จได้
• เพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน
• ลดความเสี่ยงจากการแท้งบุตร

เหมาะสำหรับ

PGT-A เหมาะสำหรับ
• ฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีอัตราความเสี่ยงของการให้กำเนิดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติสูง
• คู่สมรสที่รักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วมาก่อน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
• คู่สมรสที่มีประวัติการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มากกว่า 2 ครั้ง
• คนไข้ฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิง ที่มีประวัติความผิดปกติทางโครโมโซมในครอบครัว

PGT-M เหมาะสำหรับ
• คู่สมรสที่เป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรม หรือมีเคยมีบุตรที่เป็นโรคทางพันธุกรรม
• การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive ผู้ที่เป็นโรคจะต้องมียีนผิดปกติ 2 alleles ที่ได้รับมาจากทั้งบิดาและมารดา ตัวอย่างเช่นโรคธาลัสซีเมีย หากมียีนผิดปกติเพียง allele เดียว เรียกว่าเป็นพาหะของโรค จะมีสุขภาพแข็งแรงปกติ แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติให้บุตรในอนาคตได้
• การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ผู้ที่เป็นโรคมีพ่อหรือแม่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นโรคด้วย ยกเว้นกรณีที่ผู้นั้นมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งพ่อแม่จะปกติทั้งคู่ ตัวอย่างเช่น โรคกระดูกอ่อนไม่เจริญเติบโต เป็นต้น
• การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked ตัวอย่างโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคตาบอดสี เป็นต้น

 

 

การตรวจความผิดปกติของโครโมโซม Next Generation Sequencing (NGS)

การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ต่อความสำเร็จของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีคู่สมรสหลายคู่ที่ล้มเหลวจากการทำเด็กหลอดแก้วโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของความล้มเหลวจากการทำเด็กหลอดแก้วโดยไม่ทราบสาเหตุ อธิบายได้ว่าอาจเกิดจากคุณภาพของตัวอ่อน การแบ่งตัวที่ไม่สมบูรณ์หรือความผิดปกติของพันธุกรรมที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ดังนั้นการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน โดยแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยทำให้โอกาสต่อความสำเร็จของการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากจะทำให้ได้ตรวจลึกไปถึงระดับโครโมโซม ว่ามีโครโมโซมคู่ไหนที่มีความผิดปกติ จนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีก ทั้งยังรวมถึงการตรวจโครโมโซมคู่สุดท้ายที่สามารถระบุได้ว่าตัวอ่อนเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย

 

สนใจติดต่อ  :  Deep & Harmonicare IVF Center ศูนย์ปรึกษาการตั้งครรภ์ และ รักษาภาวะมีบุตรยาก

สอบถามการรักษามีลูกยาก  :  LINE : @dhcivf.th

ติดตามข่าวความรู้เรื่องรักษามีบุตรยาก ได้ที่  :  fb.me/DeepHarmoniCareIVF

ติดต่อเรา : 093-7891313


ใส่ความเห็น
Your email address will not be published. Required fields are marked *